วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การอาบ

รอดำเนินการ

การอบด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน


การประคบ

รอดำเนินการ

แพทย์วิถีธรรม ยาเม็ดที่ ๕ การหยอดหู หยอดตา


วิธีใช้น้ำสกัดย่านาง-เบญจรงค์ วิธีหยอดหู
ครั้งละ ๑-๓ หยด แล้วปล่อยทิ้งไว้หรือหยด
จนเต็มรูหู ทิ้งไว้ประมาณ ๑-๕ นาที แล้วเอียงออก
อาจหยอดวันละ ๑-๔ ครั้ง หรือเท่าที่รู้สึกสบาย
หรือหยอดทุกครั้งที่รู้สึกไม่สบายที่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย การหยอดมีส่วนช่วยลดอาการไม่สบายในอวัยวะอื่น ๆ ได้ จากกลไกที่หูเป็นทางระบายของเสีย/พิษจากทุกอวัยวะของร่างกายอีกช่องทาง ผู้มีพิษร้อนในร่างกายมากเวลาเอียงน้ำออกน้ำสกัดที่ออกมาก็จะร้อน
ที่มา : ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว). คู่มือการใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น . หน้า ๑๙



 
ใช้น้ำปัสสาวะล้างตา เพื่อแก้อาการไม่สบายนัยน์ตา ล้างมือให้สะอาดนั่งเงยหน้าหรือนอนหงายใช้มือจุ่มลงในน้ำปัสสาวะ แล้วนำมาแตะที่หัวตา จากนั้นลืมตาเอาน้ำปัสสาวะไปล้างตา หรือ กรอกตา ในน้ำปัสสาวะก็ทำให้ล้างสิ่างสกปรกออกจากนัยน์ตา
เมื่อมีบาดแผล ฝึ หนอง ผื่น คัน การใช้น้ำปัสสาวะทาหรือล้าง ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดผื่นคันและลดการอักเสบ
ปัสสาวะที่ดี คือ มีรสจืด หรือ หอมเหมือนชา ไม่มีกลิ่นฉุน หากมีรสจัดหรือมีกลิ่นฉุน ก่อนนำมาใช้ ดื่ม หรือ หยอดตา หรือ หยอดหู
ควรเจือจางในน้ำสะอาดให้เหลือรสแค่ปะแล่ม ๆ หรือมี กลิ่นน้อยลง ปริมาณการดื่มที่พอดี คือ ดื่มในปริมาณที่ร่างกายรู้สึกสบาย
ที่มา : ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว). หนังสือ ถอดรหัสสุขภาพเล่ม 3 มาเป็นหมอดูแลตัวเองกันเถอะ หน้า ๕๔-๕๕
 
 
 

แพทย์วิถีธรรม ยาเม็ดที่ ๕ การพอกด้วยกากสมุนไพร



การพอกกากสมุนไพร
เมื่อรู้สึกปวด บวม แดง ตึง รั้ง เมื่อย อันเกิดจากภาวะร้อนเกิน สามารถใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น กากย่านาง ที่เหลือจากการทำน้ำคลอโรฟิลล์สด พอกบริเวณที่รู้สึกไม่สบาย โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำย่านาง พันทับกากสมุนไพรบริเวณที่พอก และใช้ผ้าขนหนูอีกผืนคอยชุบน้ำพันประคบทับ เมื่อผ้าร้อนหรือแห้ง ชุบน้ำย่างนางใหม่มาพันทับ พอกประมาณ ๒๐-๓๐ นาที หรือเท่าที่รู้สึกสบาย




ประโยชน์ของกากสมุนไพรฤทธิ์เย็น
เหมาะกับผู้ที่มีภาวะร่างกายไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
เมื่อทำการคั้นน้ำออกจากสมุนไพรแล้วกากสมุนไพรฤทธิ์เย็นที่เหลือ
เช่น ย่านาง ใบเตย อ่อมแซบ หยวกกล้วย สามารถนำ
มาใช้ประโยชน์ได้ คือ
1. ใช้ประกอบยาเม็ดที่ 4 การนำกากไปต้มน้ำ เพื่อนำน้ำที่ได้มาแช่มือแช่เท้า ต้ม 15 นาทีน้ำเดือด ผสมเป็นน้ำอุ่นแช่มือแช่เท้า โดย
แช่ 3 นาที พัก 1 นาที (1 รอบ) ทำทั้งหมด 3 รอบ นอกจากนี้
ยังสามารถนำน้ำที่ได้ไปอาบน้ำ หรือแช่ตัวก็ได้เท่าที่รู้สึกสบาย
2. ใช้ประกอบยาเม็ดที่ 5 นำมาผสมกับผงถ่าน ดินสอพอง และ
น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น พอกบริเวณที่ไม่สบาย เช่น แขน เข่า ท้อง ขา
ข้อเท้า แผ่นหน้า แผ่นหลัง ช่วยในการถอนพิษร้อนให้กับร่างกาย
ระยะเวลาในการพอก เท่าที่รู้สึกสบาย โดยหมั่นพรมน้ำให้ชุ่ม

แพทย์วิถีธรรม ยาเม็ดที่ ๕ การหยอด





สูตรน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น ใช้ในกรณีมีภาวะร้อนเกิน
 

ส่วนผสม
สมุนไพรสดฤทธิ์เย็นล้างให้สะอาด
เช่น ใบย่านาง ใบเตย อ่อมแซบ ผักบุ้ง เป็นต้น
หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ ๑ ช้อนชา - ๒ ช้อนแกง
แช่ในน้ำสะอาด ๑ แก้ว (ประมาณ 200 ซี.ซี.) นานประมาณ
๕-๑๐ นาที หรือต้มเดือด ๕-๑๐ นาที แล้วปล่อยให้เย็น
วิธีใช้ ให้หยอดหู หยอดตา ถอนพิษร้อน
หมายเหตุ : น้ำแช่สมุนไพรสดหรือต้ม มีอายุ ๔ ชั่วโมง
ที่มา: ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว) หนังสือสู้ทุกทุกข์ภัยด้วยใจที่เป็นสุข หน้า ๗๙

 
ยาเม็ดที่ ๕ การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน
วิธีใช้น้ำสกัดย่านาง-เบญจรงค์
ใช้ฉีดพ่น / ล้าง / ทาแผล
ในจุดที่ไม่สบายจากภาวะร้อนเกิน
หรือผสมพอกทาในจุดที่ไม่สบายจากภาวะร้อนเกิน
เช่น เริม งูสวัด ไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ โดยผสมกับ
สมุนไพรตัวอื่น เช่น ถ่าน ดินสอพอง พอกในจุดที่ไม่สบาย
ถ้าต้องการเพิ่มฤทธิ์เย็นของการฉีดพ่น ทา ให้ผสมน้ำมันเขียว 1-3 หยดต่อน้ำสกัด 1 แก้ว (ประมาณ 200 ซีซี) และใช้ฉีดพ่นในส่วนที่ไม่ สบาย ยกเว้น นัยน์ตา เพราะน้ำมันเขียวอาจระคายเคืองนัยน์ตา



แพทย์วิถีธรรม ยาเม็ดที่ ๕ การพอกทา


การพอกหน้า 
 เป็นการถอนพิษร้อนในร่างกายทางใบหน้า เพราะใบหน้าเป็นจุดสะท้อนของอวัยวะภายในหลายอย่าง ผลพลอยได้ที่ได้จากการพอกหน้า คือ หน้าใส นอกจากพอกหน้าแล้วยังสามารถพอกบริเวณที่เรารู้สึกไม่สบายมีความร้อนในทั้งร่างกาย
 

ส่วนผสม
ดินสองพอง 6 ส่วน ช่วยในการประสาน
นำ้ย่างนาง 1 ส่วน
ผงถ่าน 2 ส่วน
กากสมุนไพรฤทธิ์เย็น 2-8 ส่วน (ใบหน้าไม่ต้องใช้)
สัดส่วนปรับได้ตามเหมาะสม
ผสมให้เข้ากันแบบข้น และทาพอกบริเวณที่รู้สึกไม่สบาย
ถ้าเป็นใบหน้า ไม่เกิน 20 นาที
ถ้าเป็นบริเวณร่างกายส่วนต่าง ๆ พอกได้ตั้งแต่ 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง หมั่นพรมน้ำคลอโรฟิลล์ไม่ให้แห้ง


ตัวอย่าง การพอกทาด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน
อนุโมทนาบุญ กับน้องนิสิตแพทย์ศาสตร์ ปี 5 ในการร่วมสาธิตการพอกหน้าในงานวันที่ 24 กันยายน 2556 ณ โรงพยาบาลชลบุรี

การพอกหน้าเป็นการปรับสมดุลถอนพิษร้อนที่สะสมบนใบหน้า รวมถึงดึงความร้อนจากอวัยวะภายในร่างกายช่วยให้สมดุล พร้อมใบหน้าเป็นจุดสะท้อนของอวัยวะภายในร่างกาย
การพอกใช้ ดินสอพอง ผงถ่าน น้ำคลอโรฟิลล์สด ผสมให้เข้ากันไม่ข้นหรือเหลวเกินไป พอกประมาณ 15-20 นาทีแล้วล้างออก จากการสัมภาษณ์หลังล้างหน้าแล้ว น้องนิสิต รู้สึกใบหน้าตึงขึ้น ใสขึ้น นุ่ม และรู้สึกสดชื่น



กรณีผู้ที่มีภาวะร่างกายไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
การถอนพิษด้วยการพอก/ทาด้วยสมุนไพรฤทธิ์เย็น
โดยนำสมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น ใบเตย เบญจรงค์ (อ่อมแซบ) ผักบุ้ง บัวบก ย่านาง วุ้นว่านหางจระเข้ รางจืด ใบมะขาม กาบหรือใบหรือ หยวกกล้วย เป็นต้น จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ก็ได้ มาหั่นหรือโขลกให้แตกพอประมาณ อาจใช้กากสมุนไพรที่เหลือ จากการทำน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นก็ได้ อาจใช้ผ้าชุบน้ำสมุนไพรฤทธฺ์เย็นก็ได้ อาจใช้ดินคลุกกับน้ำให้เหลวเหมือนตมก็ได้ อาจใช้น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นสด คลุกกับดินสอพอง หรือแป้งฝุ่นที่ใช้ทาหน้าทาผิว
ให้พอเหลวก็ได้
วิธีทำตามรูป
พอกบริเวณที่รู้สึกไม่สบาย ด้วยกากสมุนไพรฤทธิ์เย็น ผงถ่านที่ใช้ก่อไฟทั่วไป ผสมกับน้ำสมุนไพรฤทธ์เย็น (อาจผสมดินสอพองหรือน้ำปัสสาวะด้วยก็ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ถอนพิษได้ดียิ่งขึ้น) พอกทาทิ้งไว้ 1- 4 ชั่วโมง หรือทั้งคืนก็ได้ สามารถพอกทาทุก 4-6 ชั่วโมง หรือเท่าที่รู้สึกสบาย ปรับตามสภาพร่างกาย ถ้านานมากไปผู้ป่วยจะเพลีย ช่วงเวลาที่พอกหมั่น พรมน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นไม่ให้แห้ง ถ้าใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นแล้วรู้สึกไม่สบายก็ปรับใช้สมุนไพรฤทธิ์ร้อน ถ้ารู้สึกสบายกว่า



 ตัวอย่างการพอกแผ่นหลัง ใช้ผ้าขาวบางรอง เพื่อสะดวกเวลาดึงดินสอพองและกากออก




ในกรณีที่เป็นฝีหนอง ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำขุ่น น้ำเหลืองไหลซึมที่ผิวหนัง หรือน้ำกัดเท้า ให้ใช้สมุนไพรรสฝาด เช่นเปลือกต้นแค เปลือกต้นหว้า เปลือกต้นสะเดา (ส่วนกะพี้ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างเปลือกนอกกับแก่น) เปลือกต้นทับทิม เปลือกต้นประดู่ เปลือกต้นค้อ เปลือกต้นเปลือย เปลือกผลมังคุด เปลือกผลทับทิม เป็นต้น ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน โขลกให้แตกหรือฝนให้ละเอียด ใส่น้ำสะอาดเข้าไปเล็กน้อย หรือใส่น้ำปัสสาวะก็ได้ คั้นเอาแต่น้ำสมุนไพรรสฝาด จะดูดซับน้ำดูดซับหนองได้ดี (ถ้าผสมกับผงถ่าน ดินสอพอง น้ำปัสสาวะ หรือน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นก็ยิ่งดี) พอก/ทาบริเวณที่รู้สึกไม่สบายนานเท่าที่รู้สึกสบาย โดยทั่วไปใช้เวลาพอกแต่ละครั้ง ประมาณ ๑๐-๖๐ นาที ทุก ๔-๖ ชั่วโมง หรือทุก ๑๒ ชั่วโมง (พรมน้ำสมุนไพรให้ชุ่มทุกครั้งที่รู้สึกว่าสมุนไพรที่พอกแห้ง) อาจใช้ความถี่ในการพอกหรือระยะเวลาในการพอกทามากหรือน้อยกว่าก็ได้ตามความรู้สึกสบายของแต่ละคน
ที่มา: ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว) หนังสือ สู้ทุกทุกข์ภัยด้วยใจที่

เป็นสุข หน้า ๗๗-๗๘


ประโยชน์ของกากสมุนไพรฤทธิ์เย็น
เหมาะกับผู้ที่มีภาวะร่างกายไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
เมื่อทำการคั้นน้ำออกจากสมุนไพรแล้วกากสมุนไพรฤทธิ์เย็นที่เหลือ
เช่น ย่านาง ใบเตย อ่อมแซบ หยวกกล้วย สามารถนำ
มาใช้ประโยชน์ได้ คือ
1. ใช้ประกอบยาเม็ดที่ 4 การนำกากไปต้มน้ำ เพื่อนำน้ำที่ได้มาแช่มือแช่เท้า ต้ม 15 นาทีน้ำเดือด ผสมเป็นน้ำอุ่นแช่มือแช่เท้า โดย
แช่ 3 นาที พัก 1 นาที (1 รอบ) ทำทั้งหมด 3 รอบ นอกจากนี้
ยังสามารถนำน้ำที่ได้ไปอาบน้ำ หรือแช่ตัวก็ได้เท่าที่รู้สึกสบาย
2. ใช้ประกอบยาเม็ดที่ 5 นำมาผสมกับผงถ่าน ดินสอพอง และ
น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น พอกบริเวณที่ไม่สบาย เช่น แขน เข่า ท้อง ขา
ข้อเท้า แผ่นหน้า แผ่นหลัง ช่วยในการถอนพิษร้อนให้กับร่างกาย
ระยะเวลาในการพอก เท่าที่รู้สึกสบาย โดยหมั่นพรมน้ำให้ชุ่ม



การพอกกากสมุนไพร
เมื่อรู้สึกปวด บวม แดง ตึง รั้ง เมื่อย อันเกิดจากภาวะร้อนเกิน สามารถใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น กากย่านาง ที่เหลือจากการทำน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น พอกบริเวณที่รู้สึกไม่สบาย โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำย่านาง พันทับกากสมุนไพรบริเวณที่พอก และใช้ผ้าขนหนูอีกผืนคอยชุบน้ำพันประคบทับ เมื่อผ้าร้อนหรือแห้ง ชุบน้ำย่างนางใหม่มาพันทับ พอกประมาณ ๒๐-๓๐ นาที หรือเท่าที่รู้สึกสบาย